Main Menu...... |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
ขั้นตอนการให้รหัส ICD-10
ขั้นตอนที่ 1 ทบทวน ตรวจทาน คำวินิจฉัยที่มีการบันทึกในเวชระเบียนว่าถูกต้อง
ครบถ้วน หรือไม่ บางครั้งแพทย์อาจไม่ทราบว่าภาวะผิดปกบางอย่างต้องสรุปด้วย
ผู้ให้รหัสควรแนะนำ อย่างไรก็ตามขั้นตอนนี้ผู้ให้รหัสต้องมีความรู้มากพอสมควร
หากเป็นผู้ให้รหัสที่เริ่มต้นอาจข้ามขั้นนี้ไป
ห้ามผู้ให้รหัส เพิ่มเติม เปลี่ยนแปลง ลายมือแพทย์เด็ดขาด
ซึ่งถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณรุนแรง
ขั้นตอนที่ 2 แปลงคำย่อเป็นคำเต็ม คำย่อที่ถือว่าเป็นมาตรฐานได้แก่คำย่อ
ที่ปรากฏในหนังสือ ICD-10, ICD-9-CM, Standard coding guideline หากเป็น
คำย่ออื่นๆ โรงพยาบาลควรทำเอกสารชี้แจงไว้เป็นหลักฐาน เนื่องจากคำย่อบางคำ
สามารถแปลงได้หลายความหมาย
ขั้นตอนที่ 3 เลือกคำหลัก (lead term) ลักษณะของคำหลัก
- มักเป็นคำที่บอกโรค เช่น failure, disease, disorder, hypo-, hyper- เป็นต้น
- มักอยู่ส่วนท้ายของคำวินิจฉัย
- อาจมีมากกว่า 1 คำ
- บางครั้งอาจต้องเปลี่ยนหรือแปลงคำ
คำหลักนับว่าสำคัญ ถ้าเราสามารถเลือกคำหลักได้ถูกต้องจะทำให้หารหัสได้เร็วขึ้น
ขั้นตอนที่ 4 นำคำหลักที่ได้ไปหารหัสเบื้องต้นในหนังสือ ICD-10 เล่มที่ 3 ในขั้นตอนนี้
รหัสที่ได้จะเป็นรหัสเบื้องต้นยังไม่สมบูรณ์ อาจมีความผิดพลาดได้ ผู้ให้รหัสต้องนำ
รหัสที่ได้ไปตรวจสอบความถูกต้องในหนังสือ ICD-10 เล่มที่ 1 เสมอ
ขั้นตอนที่ 5 นำรหัสที่ได้จากหนังสือ ICD-10 เล่มที่ 3 ไปตรวจสอบความถูกต้อง
ในหนังสือ ICD-10 เล่ม 1 ทุกครั้ง ผู้ให้รหัสต้องนำรหัสที่ได้ตรวจสอบก่อนที่จะเลือก
รหัสทุกครั้ง และควรดูที่กลุ่มรหัส หมวดรหัส และต้นบทด้วย เพราะอาจมีคำแนะนำ
อยู่ เช่น exclude, include, see before..... เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 6 เลือก/บันทึกรหัสที่ถูกต้อง ครอบคลุมคำวินิจฉัยให้มากที่สุด ถูกต้องตาม
หลักการ ICD-10, Standard coding guideline และตรงตามประเภทคำวินิจฉัย
โดยเฉพาะการให้รหัสการวินิจฉัยโรคหลัก, โรคร่วม, โรคแทรก, โรคอื่นๆ รวมทั้งรหัส
สาเหตุการตายและรหัสเนิ้องอก (ICD-O) รวมทั้งข้อยกเว้นต่าง ๆ เช่นในกลุ่มผู้ป่วย
ตั้งครรภ์/คลอด (รหัส O), ทารกแรกคลอด (รหัส P) เป็นต้น
ขั้นตอนต่าง ๆ ผู้ให้รหัสมือใหม่ ควรศึกษา ทำความเข้าใจให้ดี จะทำให้
การให้รหัสถูกต้อง สมบูรณ์ มากยิ่งขึ้น
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|