Medical Coding ICD-10 & ICD-9-CM /2007
  ประวัติ ICD-10
 

          ประวัติความเป็นมา และพัฒนาการการให้รหัสโรค

                                 บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศ
(International Classification of
                  Disease) ฉบับแรก หรืออาจเรียกย่อว่า ICD-1 ถือกำเนิดมาจากกลุ่มประเทศ
                  บางประเทศทางยุโรปเมื่อ พ.ศ.
2443 โดยเน้นการจำแนกโรคที่เป็นสาเหตุการตาย
                  และได้รับการพัฒนาปรับปรุงและแก้ไขมาเป็นลำดับทุก 10 ปีโดยประมาณ
                  จนกระทั่งมีการก่อตั้งองค์การอนามัยโลก (
World Health Organization หรือ
                 
WHO) ในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 องค์การอนามัยโลกได้เห็นความสำคัญ
                  ของ
ICD และเลือกใช้  ICD เป็นเครื่องมือหลักในการให้รหัสโรค นอกจากนั้น
                  ยังได้รวมโรคอื่นๆ ที่อาจไม่รุนแรงถึงแก่ชีวิตรวมทั้งสาเหตุการบาดเจ็บต่างๆ เข้าไว้
                  ในบัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศด้วยตั้งแต่ฉบับที่
6 (ICD-6) ทำให้ ICD
                  มีความสมบูรณ์มากขึ้น เปลี่ยนชื่อไปเป็น
International Statistical Classification
                  of Diseases and Related Health Problems หลังจากนั้นองค์การอนามัยโลก
                  ได้มีการปรับปรุงแก้ไขบัญชีจำแนกโรคนี้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะๆ จนกระทั่งจัดทำ
                  บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศฉบับที่
10 (ICD-10) เสร็จใน พ.ศ. 2535 และ
                  เริ่มใช้ใน พ.ศ.
2537 
                                  เนื่องจากโรคและปัญหาการเจ็บป่วยในแต่ละประเทศย่อมมีความ
                    แตกต่างกันไม่มากก็น้อย ความต้องการรหัสโรคที่เหมาะสมของแต่ละประเทศ
                    จึงแตกต่างกัน หลายประเทศจึงมีแนวคิดในการดัดแปลงรหัส
ICD เพื่อให้เหมาะสม
                   ยิ่งขึ้นในการใช้งานในประเทศของตน ประเทศแรกที่ทำการดัดแปลง
ICD คือ สหรัฐ-
                   อเมริกา ซึ่งดัดแปลง
ICD-9 เป็น ICD-9-CM (CM ย่อมาจาก clinical modification)
                   หลังจากนั้นประเทศออสเตรเลียได้ดัดแปลง
ICD-10 เป็น ICD-10-AM (AM ย่อมาจาก
                   
Australian modification) และต่อมาประเทศแคนาดาได้ดัดแปลง ICD-10 เป็น
                   ICD-10-CA (CA ย่อมาจาก Canadian modification) ประเทศไทยได้พัฒนา ICD-10
                   เพื่อให้เหมาะกับโรคและความเจ็บป่วยของประเทศไทย เป็น
ICD-10-TM (TM
                   ย่อมาจาก
Thai modification) ในปัจจุบันมีการเริ่มใช้ในหลายโรงพยาบาล และ
                   ในส่วนของรหัสโรคได้ถูกนำใช้ในฐานข้อมูล
 DRGs (TGRP40) ด้วย
                                   ประเทศไทยเริ่มใช้บัญชีจำแนกโรคระหว่างประเทศตั้งแต่ฉบับที่ 7 (ICD-7)
                    เมื่อ พ.ศ.
2493 โดยนำมาใช้ในการทำสถิติการตายของประเทศ ต่อมาได้เปลี่ยนมาใช้
                   
ICD-8 และ ICD-9 ในการเก็บสถิติการเจ็บป่วยตั้งแต่ พ.ศ. 2506 จนกระทั่ง พ.ศ. 2537
                    ประเทศไทย
, เดนมาร์ก และเช็คโกสโลวะเกียได้เป็นสามประเทศแรกในโลกที่เริ่มใช้
                   
ICD-10 หลังจากนั้นประเทศอื่นๆ ก็ได้ทยอยเปลี่ยนมาใช้ ICD-10 คาดว่าภายในอนาคต
                    อันใกล้นี้  ทุกประเทศทั่วโลกจะใช้
ICD-10 ในการให้รหัสโรค ในปัจจุบันประเทศไทย
                    ใช้หนังสือ
ICD-10 ของ WHO Version 2007


 
  Medical Coding  
 
This website was created for free with Own-Free-Website.com. Would you also like to have your own website?
Sign up for free