โรคแทรกและการให้รหัส
โรคแทรก (Complication / Post-admission comorbidity)
โรคแทรก (complication) คือ โรคที่ไม่ปรากฏร่วมกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลักแต่แรก
แต่เกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลไปแล้ว และเป็นโรคที่มีความ
รุนแรงของโรคมากพอที่จะทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อชีวิตสูงมากขึ้น หรือใช้ทรัพยากร
ในการรักษาเพิ่มขึ้นระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาลครั้งนี้
A. องค์ประกอบที่สำคัญตามคำจำกัดความของโรคแทรก ได้แก่
1. เป็นโรคที่เกิดขึ้นภายหลัง ไม่เกิดขึ้นก่อน หรือ ไม่เกิดพร้อมกับโรคที่เป็น
การวินิจฉัยหลัก คือเป็นโรคที่เกิดขึ้นหลังจากผู้ป่วยเข้ารับการรักษาใน
โรงพยาบาลแล้ว
2. เป็นโรคที่มีความรุนแรงมากพอที่ทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคแทรก
เสี่ยงต่อการเสียชีวิต หรือพิการระหว่างรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล หรือทำให้ต้องเพิ่ม
การตรวจพิเศษ เพิ่มยา หรือเวชภัณฑ์ ต้องได้รับการ ดูแลเพิ่มเติมจากแพทย์
ผู้เชี่ยวชาญแผนกอื่นๆ ต้องทำการรักษาเพิ่มเติม
3. โรคแทรกอาจเป็นโรคต่างระบบกับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลัก และอาจไม่เกี่ยวเนื่อง
กับการวินิจฉัยหลัก
4. แพทย์สามารถบันทึกโรคแทรกได้มากกว่า 1 โรค โดยไม่จำกัดจำนวนโรคสูงสุด
B. ตัวอย่างโรคที่มักเป็นโรคแทรก ได้แก่ โรคที่มักเกิดขึ้นอย่างเฉียบพลันในโรงพยาบาล
ทำให้ผู้ป่วยเดือดร้อนมากขึ้น เช่น โรคติดเชื้อต่างๆ หลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน
กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน การแพ้ยา ผื่นลมพิษ รวมถึงผลข้างเคียงที่เกิดจาก
การรักษาหรือผ่าตัดด้วย
Common complications accompanying patient admission
Acute diseases
- Surgical wound infection - Deep vein thrombosis
- Acute myocardial infarction - Acute renal failure
- Acute cystitis - Acute urinary retention
- Acute haemorrhagic gastritis - Acute gastroenteritis
Medical and surgical complications
- Tear of internal organs during surgery - Transfusion reaction
- Drug allergy and anaphylaxis - Post-spinal block headache
ตัวอย่าง ผู้ป่วยโรค deep vein thrombosis มีโรคแทรกตามมาคือ ลิ่มเลือดที่ขา
หลุดลอยไปตามกระแสเลือดดำเข้าสู่ปอด ทำให้เกิด pulmonary embolism กรณีนี้
เป็นโรคแทรกที่เกิดเกี่ยวเนื่องมาจากโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลักโดยตรง
การวินิจฉัยหลัก : Deep vein thrombosis
โรคแทรก : Pulmonary embolism
…………………………………………………………………………………………
ตัวอย่าง ถ้าหากผู้ป่วยในตัวอย่างข้างบนนี้ เกิดอาการท้องร่วงหลังจากเข้านอน
โรงพยาบาล ได้ 3 วัน แพทย์วินิจฉัยว่าเกิดโรค แทรกคือ acute gastroenteritis
ซึ่งเป็นโรคในระบบทางเดินอาหารของผู้ป่วย และเป็นโรคที่ไม่มีความสัมพันธ์ใดๆ
กับโรคที่เป็นการวินิจฉัยหลักเลย
การวินิจฉัยหลัก : Deep vein thrombosis
โรคแทรก : Acute gastroenteritis
ทั้งสองในตัวอย่าง โรคแทรกที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ป่วยเดือดร้อนมากขึ้น ต้องนอน
โรงพยาบาลนานขึ้น เสียค่าใช้จ่ายในการรักษา และใช้ยาเพิ่มขึ้น จึงเป็นโรคที่ตรงตาม
คำจำกัดความของโรคแทรก
การให้รหัสโรคแทรก (Complication / Post-admission comorbidity coding)
การให้รหัสโรคแทรกทุกรหัส จะต้องมีการวินิจฉัยโรคอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
ของแพทย์ผู้ดูแลหรือร่วมกันรักษาเป็นหลักฐานรับรองการบันทึกรหัสเสมอ ผู้ให้รหัส
ไม่สามารถนำเอาผลการตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ หรือการตรวจพิเศษอื่นใดที่มิใช่
คำวินิจฉัยโรคของแพทย์มาตีความเป็นรหัสโรคแทรกเองโดยพลการ หากมีข้อสงสัยว่า
ผู้ป่วยจะมีโรคแทรกอื่นใดที่แพทย์ลืมบันทึก ผู้ให้รหัสต้องส่งเวชระเบียนให้แพทย์พิจารณา
ทบทวนวินิจฉัยโรคแทรกเพิ่มเติมได้ก่อนให้รหัส